เรื่องน่ารูู้

 

> วิวัฒนาการพิมพ์


> การพิมพ์ในประเทศไทย


> ประวัติการพิมพ์ offset

> ปัญหาเรื่อง RGB กับ CMYK

 

 

 

 
 
 
หน้าแรก

เกี่ยวกับบริษัท

ผลงานพิมพ์ เรื่องน่ารู้ แผนที่ิ

ติดต่อ

 

    Offset หรือ การพิมพ์พื้นราบ มีต้นกำเนิดจากการพิมพ์ด้วยการค้นพบของ อลัวส์เซเนเฟลเดอร์
(Alois Senefelder) ด้วยการใช้แท่งไขมันเขียนลงบนแผ่นหินขัดเรียบ ใช้น้ำบางๆ หรือความเปียกชื้น
ลงไปคลุมพื้นที่ซึ่งไม่ต้องการให้เกิดภาพก่อนแล้วจึงคลึงหมึกตามลงไปไขมันที่เขียนเป็นภาพจะรับหมึก
และผลึกดันน้ำ และน้ำก็ผลักดันหมึกมิให้ปนกันเมื่อนำกระดาษไปทาบและใช้น้ำหนักกดพิมพ์พอควร
กระดาษนั้นจะรับและถ่ายโอนหมึกที่เป็นภาพจากแผ่นหิน ปัจจุบันการพิมพ์พื้นราบที่รู้จักกันในนามพิมพ์หิน
ได้พัฒนาจากการใช้คนดึงแผ่นหินที่หนาและหนักกลับไปกลับมา เพื่อทำการพิมพ์ได้ชั่วโมงละไม่กี่แผ่น


ได้มีความเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับ จากการใช้แรงคนเป็นเครื่องจักร ไอน้ำและจากเครื่องจักร ไอน้ำเป็นเครื่องยนต์พร้อมกับเปลี่ยนลักษณะของแผ่นภาพพิมพ์จากหินเป็นโลหะที่บางเบาสามารถโค้ง
โอบรอบไม่ได้และได้ใช้เป็นผืนผ้ายาง (rubber printing) กระดาษหรือวัสดุพิมพ์จะไม่สัมผัสกับ
แม่พิมพ้์( plate cylinder)โดยตรง แต่จะอยู่ในระหว่างโมผ้ายาง (blandet cylinder)กับโมกดพิมพ์
(imoression cylinder) ชื่อของวิธีนี้ เคยเรียกเมื่อเริ่มแรกว่า '''ลิโธกราฟี'' (Lithography) อันเป็นภาษากรีก ที่มีความหมายว่าเขียนบนหิน ได้เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมคำว่า เซตออฟ (set-off) หรือ ''ออฟเซต'' (offset) ซึ่งหมายถึงการพิมพ์ได้รับหมึกจากแม่พิมพ์ไปหมดแต่ละแผ่น แล้วเตรียมรับหมึก
พิมพ์ในแผ่นต่อไป ชื่อของวิธีพิมพ์นี้จึงเรียกว่า ''ออฟเซตลิโธกราฟี''(offset lithography) ในปัจจุบันสามารถพิมพ์ลงบนวัสดุพิมพ์หลายชนิดไม่ว่าจะเป็นกระดาษผิวหยาบ พลาสติก ผ้าแพร หรือแผ่นโลหะ

 

หลักในการพิมพ์ offset

หลักของการพิมพ์ offset คือ น้ำกับน้ำมันจะไม่รวมตัวกันซึ่งบนแผ่นแม่พิมพ์จะมีทั้งสอง ส่วนคือ บริเวณที่ไม่มีภาพก็จะเป็นที่รับน้ำและในส่วนที่มีภาพก็จะเป็นสารเคมีที่เป็นพวกเดียวกับหมึก

 หน้าที่ของบริเวณทั้งสองของแม่พิมพ์
1. ส่วนที่ไร้ภาพและรับน้ำ จะทำหน้าที่ในการรับน้ำหรึอความชื้น และผลักดันหมึกให้ออกนอกบริเวณ
2. ส่วนที่เป็นภาพจะทำหน้าที่รับหมึกและผลักดันน้ำมันออกนอกบริเวณของตน ซึ่งในแต่ละส่วนจะทำหน้าที่ๆแตกต่างกัน


หลักในการถ่ายทอดภาพของเครื่องพิมพ์ออฟเซต
ออฟเซตเป็นระบบการพิมพ์พื้นฐานทั่วไปในระบบ 3 โม คือ
1. โมแม่พิมพ์
2. โมผ้ายาง
3. โมแรงกด
พร้อมด้วยระบบทำความชื้นและระบบการจ่ายหมึกให้แกแม่พิมพ์เมื่อมีการเคลื่อนไหว แม่พิมพ์จะหมุนไปรับน้ำ หรือ ความชื้น แล้วจึงหมุนไปรับน้ำ แล้วจึงไปรับหมึก เมื่อแม่พิมพ์รับหมึก
ในบริเวณภาพแล้วจะหมุนลงไปถ่ายโอนไปให้โมผ้ายาง แล้วจึงถ่านลงวัสดุพิมพ์ โดยมีโมกดพิมพ์
ู่ รองรับอยู่เป็นระบบการพิมพ์ทางอ้อม

ประโยชน์ของการพิมพ์ทางอ้อม
        1. ในการพิมพ์ภาพลงสู่ผ้ายาง ผิวของผ้ายางมีความอ่อนนุ่มจึงสามารถแนบกระชับกับผิว ของของการดาษที่เป็นแอ่ง และขรุขระได้ดีกว่าการใช้แม่พิมพ์โดยตรง
        2. ผ้ายางจะไม่ทำให้ตัวของแม่พิมพ์ชำรุด เหมือนกับการพิมพ์ทางตรง
         3. สะดวกในการตรวจสอบความถูกต้องของภาพ และข้อความบนแม่พิมพ์เพราะเป็นตัวตรง
ไม่ใช่ตัวกลับอย่าง เลตเตอร์เพลส ซึ่งตรวจสอบได้ยาก


ขนาดของเครื่องพิมพ์ offset

 เครื่องพิมพ์ออฟเซ็ท โดยทั่วไปมีหลักการเดียวกัน คือ ประกอบด้วยโมแม่พิมพ์ โมยางและโมพิมพ์ ที่โมแม่พิมพ์จะมีระบบการให้น้ำและต่อเพลทอยู่ การถ่ายทอดภาพ เกิดจากโมแม่พิมพ์ได้รับหมึก แล้ถ่ายทอดภาพให้โมยาง แล้วโมยางจึงถ่ายทอดภาพให้กับกระดาษ หรือวัสดุที่ใช้พิมพ์ ในการถ่ายทอดภาพจากโมหนึ่งไปยังโมหนึ่งจะต้องใช้แรงกดน้อยที่สุด

 ออฟเซ็ทเล็ก
        เป็นเครื่องพิมพ์ขนาดเล็ก พิมพ์กระดาษได้ขนาด 10 *15 นิ้ว ถึงขนาด 13 *17 นิ้วโดยประมาณ เครื่องชนิดนี้มีอุปกรณ์ประกอบในการทำงานน้อยไม่ยุ่งยาก ใช้ง่าย เหมาะสำหรับงานพิมพ์ขนาดเล็ก เช่น หัวจดหมาย หนังสือเวียนแผ่น โฆษณาเผยแพร่
เล็กๆ ไม่เหมาะสำหรับงานพิมพ์สอดสี หรือ สี่สี เพราระบบฉากยังไม่มีความเที่ยงตรงดีพอ


            ขนาดตัดสี่
        
เป็นเครื่อ งพิมพ์ที่ ขนาดใหญากว่าออฟเซ็ดเล็กสามารถพิมพ์ได้ขนาดประมาณ
15 *21 นิ้ว หรือ 18 * 25 นิ้ว มีอุปกรณืช่วยในการพิมพ์มากขึ้นและระบบน้ำดีขึ้นกว่า
สามารถพิมพ์งานได้เกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นสีเดียวหรือหลายสีก็ตาม เหมาะสำหรับ
พิมพ์หนัสือยกเป็นเล่ม ภาพโปสเตอร์ขนาดกลาง งานพิมพืทั่วไป และงานพิมพ์ทีที่มี
จำนวนพิมพ์ไม่มากนัก เช่น ครั้งละไม่เกิน 5,000 ชุด ถ้าเป็นการพิมพ์จำนวนมากๆแล้ว
จะเป็นการเสียเวลา เพราะมีขนาดเล็ก ไม่สามารถลงพิมพ์ได้คราวละหลายๆแบบได้ เครื่องพิพม์ขาดนี้นิยมใช้ทั่วไปในท้องตลาด ถ้าพิมพ์หนังสือ ยก จะพิมพ์ขนาด 8 หน้ายก ได้ ทั้งี้แล้วแต่ขนาดของเครื่องพิพม์  การที่เรียกเครื่องพิมพ์ขนาดตัดสี่นั้น เพราะใช้กระดาษขนาด 15.5 -*1.5 นิ้ว ที่เกิดจากการ
แบ่งกระดาษขนาดใหญ่ 31 *43 นิ้ว เป้นสี่ส่วนได้พอดี ซึ่งเมื่อนำกระดาษขนาด นี้ไปพิมพ์และพับเป็นเล่มแล้ว
จะได้หนังสือที่มีขนาดเล็กเรียกว่า 8 หน้ายก ขนาดตัดสอง
            เป็นเครื่องพิมพ์ขนาดที่ใหญ่กว่าขนาดตัดสี่เกือบเท่าตัว กล่าวคือ สามารถพิมพ์ได้ 25 * 36 นิ้ว หรือบางแม่พิมพ์ สามรถพิมพ์ขนาด 28 * 40 นิ้วได้ เหมาะสำหรับใช้พิพม์งานทางการค้าทั่วไป เช่น หนังสือยก
โปสเตอร์ขนาดใหญ่ แผ่นโฆษณา และงานพิมพ์ทุกชนิด เนื่องสามารถพิมพ์ได้ขนาดใหญ่ จึงสามารถลงแบที่จะพิมพ์ได้ครวละหลายๆแบบ และสามารถตัดซอยเป็นแบบที่ต้องการได้ภายหลัง
ทำให้ประหยัดเวลาในการพิมพ์ เป็นเครื่องพิมพ์ขนาดที่นิยมใช้กันทั่วไป มีอุปกรณ์ประกอบในการช่วยพิมพ์ดี
ฉากพิมพ์แม่นยำ และความเร็วสูง

ขนาดตัดหนึ่ง
                
เป็นเครื่องพิมพ์ ชนิดป้อนแผ่นขนาดใหญ่ที่สามารถพิมพ์กระดาษ 30 * 40 นิ้ว หรือโตกว่าได้ มีอุปกรณ์ช่วยใน การพิมพ์มากขึ้น ส่วนมากใช้ในการพิมพ์หนังสือ โปสเตอร์
            และบรจุภณฑ์ ที่มีปริมาณการพิมพ์มากๆ มีใช้น้อยกว่าขนาด สี่ตัด และขนาดสองตัด
                       ในปัจจุบัน จัดได้ว่าระบบการพิมพ์ ออฟเซ็ต เป็นระบบงานพิมพ์ที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด เพราะให้คุณภาพของงานพิมพ์ที่สูง และราคาไม่สูงมาก เหมาะสำหรับใช้พิมพ์สื่อสิ่งพิมพืทุกชนิด
ทั้งหนังสือที่ต้องการสีเดียวและสี่สี

 

 

 


อ้างอิง : ขอขอบคุณ http://student.nu.ac.th/namo/learn.html
นางสาวนภาพร อ่ำรอด ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย นเรศวร

 

 


บริษัท เพ็ญพรินติ้ง จำกัด
เลขที่ 2 หมู่ 3 ถนนโพธิสาร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
โทรศัพท์ 043-220582, 043-326739 ,089-4224139 Fax.043-328459 E - mail : penprint@penprinting.co.th